วันอังคารที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

การเก็บรักษาเครื่องม้า การเก็บรักษาเครื่องม้า เป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งในวงการขี่ม้าและม้าแข่ง เพราะเครื่องม้าเป็นส่วนประกอบในการขี่ม้า ถ้าหากว่าการเก็บรักษา และทำควาสะอาด ไม่ดีพอแล้ว อาจทำให้ชำรุดหรือเสียหายเร็วเกินไป หรือถ้าหากว่าผู้ใช้ไม่ตรวจ ให้ละเอียดรอบคอบแล้ว อาจทำให้เกิดอันตรายต่อผู้ขี่ม้า ถึงพิการหรือเสียชีวิตได้ เครื่องม้า ประกอบไปด้วยอุปกรณ์ต่างๆมากมายที่จะอำนวยควาสะดวกให้กับผู้ขี่และม้าได้ แต่อุปกรณ์หลักๆประกอบไปด้วย • สายบังเหียน • อานม้า • เครื่องม้าเบ็ดเตล็ดอื่นๆ • สายบังเหียน เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการบังคับม้า เพื่อให้ม้าเลี้ยวไปตามทิศทางที่ผู้ขี่ต้องการ ตลอดจนเป็นเครื่องมือที่จะใช้สื่อสารความต้องการระหว่างผู้ขี่และม้า บังเหียนจะใช้ผูกกับส่วนของขลุมขี่ที่ผูกติดกับหน้าม้า • อานม้า เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ใน การนั่งของผู้ขี่ บนหลังม้า เพื่อให้ผู้ขี่สามารถบังคับม้าด้วยน่อง โดยมีส่วนประกอบสำคัญ คือสายรัดทึบที่ยึดตัวอานให้อยู่บนหลังม้าพอดี ไม่ให้เลื่อนไหลหรือพลิก และสายโกลนและโกลนซึ่งใช้ในการเหยียบเพื่อพักขาของผู้ขี่ • เครื่องม้าเบ็ดเตล็ดอื่นๆ ได้แก่ ขลุมขี่ ขลุมจูง ขลุมตีวง เป็นต้น ขลุมขี่ เป็นอุปกรณ์ที่ผูกติดกับส่วนหน้าม้า โดยมีส่วนยึดเหล็กปากให้อยู่ในช่องปากของม้าเพื่อใช้ในการบังคับ แบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ (๑) ขลุมเดี่ยว หรือเรียกว่า ชุดบังเหียนปากอ่อน ใช้สำหรับผู้บังเหียนเส้นเดียว (๒)ขลุมคู่ หรือเรียกว่า ชุดบังเหียนปากแข็ง ขลุมนี้ใช้สำหรับผูกกับสายบังเหียน ๒ เส้น โดยสายหนึ่งผูกติดกับเหล็กปากอ่อน(ขยับได้) และอีกสายหนึ่งที่ผูกกับเหล็กปากแข็ง(มีหยักโค้งทรงรูป) ซึ่งต้องมีสายรัดกระหม่อม ๒ สาย สายขลุม ๒สาย สายบังเหียน ๒ สาย การใช้ขลุมคู่นี้มักจะใช้กับม้าที่นิสัยเกเร ต่อต้านการบังคับ ซึ่งหากใช้บังเหียนปากอ่อนแล้วจะไม่สามารถบังคับได้ ขลุมจูง เป็นขลุมที่ใส่ไว้เพื่อล่ามม้า ใช้ผูกหรือจูงเดินในบริเวณที่ไม่ใช่แปลงปล่อยม้า ใช้เพื่อจูงเดินหรือล่ามในการทำความสะอาดม้า ขลุมตีวง เป็นขลุมที่มีไว้เพื่อใช้ในการฝึกม้าให้รู้จักทำตามคำสั่ง ขลุมนี้จะใช้กับม้าที่นำมาฝึกใหม่ๆ การใส่บังเหียนและอานม้า สิ่งสำคัญอีกอย่างในการดูแลรักษา ม้า คือ การใส่บังเหียนและการใส่อานให้ถูกวิธี โดยสายรั้งเหล็กปากจะต้องไม่หย่อนจนเกินไป (ให้เห็นรอยหยักบนมุมปาก ๓ หยัก) และการผูกอานโดยให้หัวอานอยู่กึ่งกลางตะโหงกม้าเสมอ และใส่สายรัดทึบให้แน่น ไม่ให้อานเลื่อนไปมาได้ซึ่งจะทำให้หลังม้าเป็นแผลภายหลัง
โรคม้า ๑. การแพ้ยาถ่ายพยาธิ การ ถ่ายพยาธิเป็นสิ่งสำคัญในการเลี้ยงดูม้า ฟีโนไธอาซีน ( Phenothiazine) เป็นยาถ่ายพยาธิที่นิยมใช้กันมาก เพราะสามารถทำลายพยาธิตัวกลมได้เกือบทุกชนิด แต่ในขณะเดียวกันยาถ่ายพยาธิชนิดนี้สามารถทำให้ม้าป่วยเพราะพิษยาได้ด้วย อาการที่พบ เช่น อาการโลหิตจางเรื้อรัง ม้าท้องอาจแท้งลูกและเกิดอาการแพ้แสงสว่าง การรักษาอาจทำได้โดยหยุดใช้ยาชนิดนี้ ในกรณีที่เป็นพิษรุนแรง อาจจำเป็นต้องมีการให้เลือด ๒. พยาธิม้า พยาธิม้ามีมากมายหลายชนิด ที่สำคัญๆมี ๔ ชนิด ด้วยกัน ได้แก่ ๒.๑ พยาธิดูดเลือด ( Strongylus spp.) ตัวแก่ของพยาธิชนิดนี้ อาศัยอยู่ในลำไส้ใหญ่ของม้า ดุดเลือดม้ากินเป็นอาหาร ตัวอ่อนของพยาธิอาจชอนไชเข้าไปในกระแสโลหิต ซึ่งอาจทำให้เกิดการอุดตันของเส้นเลือดทำให้ม้าตายได้ ๒.๒ พยาธิเข็มหมุด ( Oxyuris equi) ตัวแก่ของพยธิชนิดนี้ อาศัยอยู่ในลำไส้ใหญ่ของม้าแล้วจะติดออกมากับอุจจาระ และจะวางไข่ไว้บริเวณใต้หางม้า ทำให้เกิดการระคายเคืองและม้าจะเอาหางไปถูกับผนังคอก ทำให้ขนหลุดจนกลายเป็นขี้กลาก ๒.๓ พยาธิตัวกลม (Round worm, Parascaris equorum) ตัวแก่อาศัยอยู่ในลำไส้ของม้าและคอยแย่งกินอาหารที่ย่อยแล้ว ทำให้ม้าเกิดโรคขาดอาหาร ตัวอ่อนของพยาธิอาจชอนไชเข้าไปในเส้นเลือดเข้าสู่ตับ หัวใจ ปอด ซึ่งอาจทำให้ม้าถึงแก่ความตายได้ ๒.๔ พยาธิบอท( Bot Grubs, Gastrophilus spp.) ตัวแก่ของบอทเป็นแมลงคล้ายๆแมลงดูดเลือด และจะวางไข่บนตัวม้า บริเวณขา หน้าอก สวาบ ไข่ของพยาธิบอทที่ม้ากินเข้าไป จะเจริญตัวเป็นหนอน (margot) ไปฝังตัวอยู่ที่ผนังกระเพาะทำให้เกิดแผลหรือก้อนเนื้องอกในกระเพาะทำให้มี อาการเสียด การป้องกันรักษา ทำได้โดยการทำลายวงจรของ พยาธิแต่ละชนิด และจะต้องให้ม้ากินยาถ่ายพยาธิเป้นประจำทุกๆ ๖ – ๘ สัปดาห์ ยาถ่ายพยาธิที่นิยมใช้กันมาก ได้แก่ • ออกซิเบนดาโซล (Oxibendazole) • ไอเวอร์แมกติน (Ivermectin) ๓. โรคติดต่อร้ายแรงในม้า ๓.๑ โรคแอนแทรกซ์ (Anthrax) เป็นโรคร้ายแรง และอาจทำให้สัตว์ถึงตายได้ สาเหตุเกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่เรียกว่า บาซิลลัส แอนทาซีส (Bacillus anthracis) สัตว์ที่ป่วย จะมีอาการเสียดอย่างแรง มีอาการไข้สูง ตัวสั่น เบื่ออาหาร หงอย ซึม กล้ามเนื้อขาไม่มีกำลัง อุจจาระมีเลือดปน ท้องและคอจะบวมร้อน การควบคุมโรค ทำได้โดยการทำลายสัตว์ที่ป่วย ฉีดวัคซีนป้องกันโรค และแยกสัตว์ที่ป่วยออกจากฝูง โดยราดด้วยโซดาไฟละลายน้ำ ๕ ต่อ ๑๐๐ ส่วน ๓.๒ โรคเซอร่า (Surra) สาเหตุเกิดจากเชื้อโปรโตซัว ชื่อว่า ทรีพพาโนโซมา อีแวนซี (Trypanosoma evansi) ซึ่งจะเข้าไปอาศัยอยู่ในไขสันหลัง ม้าม และในกระแสเลือด อาการที่ปรากฏหลังจากได้รับเชื้อแล้ว ๔ – ๑๓ วัน คือ เบื่ออาหาร ซึม ง่วง ไข้สูง อ่อนเพลีย หายใจถี่หรือหอบ เกิดจุดเลือดที่เปลือกตาชั้นในและเยื่อตา บวมบริเวณหนังอวัยวะสืบพันธุ์ ขาใต้คางและเนื้อท้อง สัตว์ที่ป่วยอาจจะตายในระยะเพียงไม่กี่วัน ๓.๓ โรคโลหิตจางในม้า (Equine Infectious Anemia : F.I.A) เป็นโรคติดต่อร้ายแรงในม้า เกิดจากเชื้อไวรัส ไทรเฟอร์ อีควินอรัม (Trifur equinorum) ทำให้ม้ามีอาการไข้ขึ้นลง ซึม อ่อนแอ บวมน้ำ น้ำหนักลด บางรายมีเลือดคลั่ง มีจุดเลือดตามเยื่อเมือกของตา พบโลหิตจางเป็นเวลานาน อาการขั้นสุดท้าย สัตว์จะแสดง อาการอ่อนเพลีย ทรงตัวไม่ไหว หายใจเร็ว เบื่ออาหาร ไข้สูง ท้องบวม และตายในที่สุด โรคนี้ยังไม่มียารักษา แต่อาจป้องกันได้ ด้วยการแยกสัตว์ป่วยให้พ้นพื้นที่ และฆ่าเชื้อโรคบริเวณที่สัตว์อาศัย ภาชนะหรือเครื่องขี่ของสัตว์ป่วยต้องได้รับการอบฆ่าเชื้อ จนมั่นใจแล้วจึงนำมาใช้ได้ ๓.๔ โรคบาดทะยัก (Tetanus) สาเหตุเกิดจากเชื้อ คลอสตริเดียม เททานิ (Clostridium tetani) ซึ่งอาศัยอยู่ในบริเวณผิวดิน ในอุจจาระ สัตว์ที่ป่วยจะมีอาการขากรรไกรแข็ง หรือขาหลังทำงานได้ไม่ปกติ อุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้น หายใจลำบาก กล้ามเนื้อกระตุก สัตว์ที่ป่วยจะไม่ชอบแสงสว่างและเสียง เพราะจะทำให้กล้ามเนื้อเป็นตะคริวแข็งมากขึ้น อาจล้มลงและถึงตายได้ในที่สุด

วันอังคารที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

การเลี้ยงดูม้า
            เนื่องจากไทยโพนี่ตั้งเป้าในการผลิตลูกม้าเพื่อให้ทนทานต่อสภาพแวดล้อมใน ประเทศไทย โดยเฉพาะการทำให้ม้านั้นเป็นผู้ช่วยใส่ปุ๋ยให้กับพืชต่างๆ เช่น สวนยางพารา สวนปาล์ม สวนกาแฟ สวนทุเรียน ลิ้นจี่ ลำไย และสวนผลไม้ประเภทอื่น โดยมีข้อม้ว่าจะต้องปรับขนาดของม้าให้มีสรีระและส่วนสูงที่เหมาะสมกับคน ไทย และเราได้พบว่า ม้าลูกผสมที่ส่วนสูงไม่เกิน 155 ซม.(ประมาณ 15.2 แฮนด์) จะมีความเหมาะสมและทนทานต่อสภาพอากาศเมืองไทยมากที่สุด แต่หากมีความสูงเกินจากนี้ จะพบความอ่อนแอในม้าตัวนั้นๆ เช่นกีบไม่แข็งแรง เปลี่ยนอาหารไม่ได้ หรือท้องอืดได้ง่าย ที่สำคัญคือม้าจะมีขนาดใหญ่มากและต้องให้อาหารเสริมตลอดเวลา ไม่สามารถเลี้ยงดูโดยใช้วัสดุจากธรรมชาติจากท้องถิ่นเป็นหลักได้ ทำให้เป็น ภาระของผู้เลี้ยงมากกว่าเป็นผู้แบ่งเบาภาระ และในขณะนี้ได้ค้นพบว่าม้าลูกผสมเหล่านี้สามารถกินลูกยาง ใบยางพารา ใบปาล์ม ทางมะพร้าว ได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ตามก็ควรจะมีการถ่ายพยาธิให้ม้าอย่างน้อยปีละ สอง-สาม ครั้ง และควรมีโรงเรือนเพื่อให้ม้าได้พักในเวลากลางคืน แต่ไม่จำเป็นต้องกางมุ้ง ให้เขา แค่สุมไฟไล่ยุงและมีน้ำสะอาดให้ตลอดเวลาก็เพียงพอแล้ว
การให้อาหารโดยการคำนวณจากน้ำหนักม้า
สิ่ง ที่นำมาเสนอเอามาจากเว็บไซต์ที่มีโปรแกรมการคำนวณน้ำหนักม้าโดยการวัดรอบอก ม้า (Heart Girth)  และการวัดความยาวม้า จากอกไปโคนหาง ( Body Length)  หลังจากนั้นนำมาคำนวณปริมาณอาหารที่จะต้องให้ม้าต่อมื้อ โดยมีหน่วยเป็นทั้ง กก. และปอนด์ นอกจากนี้ยังมีตารางน้ำหนักม้าที่ความสูงต่างๆเช่น ม้าสูง 13 แฮนด์ หนักประมาณ 290-350 กก.   ม้าสูง 14 แฮนด์ หนักประมาณ 350-420 กก. และม้าสูง 15 แฮนด์จะหนักประมาณ 420-520 กก.  
การใส่ค่าประกอบการคำนวณในการให้อาหารม้าจะต้องใส่ค่าตัวแปรของการรับภาระของม้า (Work Load) ดังนี้คือ  
ม้าทำงานเบา   (Light Load)    เช่นใช้ขี่เดินเล่นใช้เวลาไม่นาน หรือ   ม้าที่ฝึกเล็กๆน้อยๆ
ม้าทำงานปานกลาง (Moderate Load) เช่น ใช้ขี่ออกเทรลวันละ 1-2 ชม.   ม้าที่ฝึกประมาณไม่เกินครึ่ง ชม. ต่อวัน
ม้า ทำงานหนัก (Heavy Load) ม้าที่เข้ารับการฝึกอย่างเข้มข้น   ม้าแข่งเอ็นดูร๊านซ์ ม้าขี่กระโดดข้ามสิ่งกีดขวาง   ม้าเข้าแข่งขันประเภท เดรสสาจ
ตัวอย่าง การคำนวณ ม้าที่มีความยาวรอบอกเท่ากับ 60 นิ้ว   ยาวลำตัว 80 นิ้ว จะมีน้ำหนัก 379 กก. ในสภาพของการใช้งานเบา ที่น้ำหนักตัวปกติ (Normal Weight)  และควรให้อาหารหยาบ 5 กก. ต่อวัน    และอาหารข้นหรือหัวอาหารประมาณ 2 กก. ต่อวัน 
อีกสูตรหนึ่ง อันนี้เป็นการคำนวณมือ โดยการใช้สูตรดังนี้
น้ำหนัก ม้า    = รอบอก X รอบอก X  ความยาวลำตัว เมื่อได้ผลลัพธ์แล้วให้หารด้วย 300 และบวกอีก 50 หน่วยออกมาเป็นปอนด์  ผมลองดูทั้งสองสูตรแล้วพบว่าสูตรอันแรกเวิร์กกว่า มาก ๆ
 
 
การอาบน้ำม้า
การ อาบน้ำม้าที่ไม่ได้ใช้งานมากให้ทำอาทิตย์ละครั้งก็เพียงพอ และควรสร้างซองอาบน้ำให้มั่นคง ม้าควรเริ่มหัดอาบน้ำตั้งแต่อายุประมาณ 4-6 เดือน
การ แปรงขน ควรใช้แปรงสำหรับแปรงขนม้าโดยเฉพาะ อย่าใช้แปรงซักผ้าหรืออื่นๆ เพราะไม่ได้ผลดี การแปรงขนควรทำทุกวัน หากไม่เช่นนั้นจะทำให้ขนม้าติดอยู่ตามแปรงแกะออกลำบาก และก่อให้เกิดโรคผิวหนังม้าในที่สุด
การ แคะกีบ ควรแคะกีบให้มาทุกครั้งหลังอาบน้ำ พยายามใช้เหล็กแคะกีบ เขี่ยเศษสิ่งสกปรกในกีบออกมาให้หมด หากกีบมีกลิ่น เหม็นต้องสังเกตว่ามีบาดแผลหรือไม่ และใส่ยารักษาให้เรียบร้อย
อาหารม้า
อาหารม้า
อาหารม้าสามารถแบ่งได้ตามวัยดังนี้ คือ  อาหารม้าลูกม้า  อาหารม้าโต อาหารแม่ม้า และอาหารม้าแข่ง  อาหารเหล่านี้ส่วนใหญ่จะมีขายเป็นตราอักษรดังๆ เช่น อาหารม้าของซีพี อาหารม้าของนิวทริน่า (Nutrena) (สองยี่ห้อนี้มีส่วนผสมของโปรตีนไม่เกิน 14 %)  นอกจากนี้ยังมีอาหารม้าสูตรผสมเอง ที่ทำให้เกษตรกรสามารถผสมเองได้  แต่หากหาอาหารม้าไม่ได้ ให้ใช้สูตร(เพื่อพลาง) ดังนี้
อาหารหมู     3.5             ส่วน (ม้าเล็กใช้อาหารหมูเล็ก  ม้ากลางใช้อาหารหมูกลาง แม่ม้าหรือม้าท้องใช้อาหารหมูนม หากมีอาหารม้าก็ใช้อาหารม้าเลย)
รำละเอียด    3-4             ส่วน
ข้าวเปลือก      2              ส่วน
ข้าวโพด          1              ส่วน
กากน้ำตาล   0.3-0.5        ส่วน
รวมทั้งหมด  10 ส่วนต่อมื้อ หรือหากคิดเป็นกิโลกรัมก็ไม่ควรเกิน  3 กก. ต่อมื้อสำหรับม้าใหญ่ (ม้าเทศ)  และหากม้าเล็กกว่านี้ก็ลดลงตามสัดส่วน   และควรให้อาหารวันละสามมื้อ หรืออย่างน้อยควรให้เช้าและเย็น
หมายเหตุว่า  1 ส่วนประมาณ 1 กระป๋องนมข้นหวาน
เสร็จจากการให้อาหารข้นข้างบนนี้แล้วหลังจากนั้นจึงทอดหญ้า(เอาหญ้าใส่ราง) ให้กิน การทอดหญ้าจะมีรางหญ้าต่างหากและใส่หญ้าแห้งหรือฟางไว้ให้ม้าเล็มกินได้ตลอด เวลา แต่หากเลี้ยงแบบประหยัดก็ให้นำม้าไปปล่อยในแปลงหญ้า หรือล่ามเชือกให้กินหญ้าได้
 
      การ ให้อาหารม้ามีข้อเตือนใจว่า สำหรับม้ายืนโรงหรือม้าขังคอกที่ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย หากให้อาหารน้อยก็แค่ผอมและอดอาหาร แต่การให้อาหารมากเกินไปและไม่เป็นเวลาอาจทำให้ม้าท้องอืดถึงตายได้
น้ำ จะต้องมีภาชนะใส่น้ำสะอาดให้ม้ากินตลอดเวลา เน้นว่า  น้ำต้องสะอาดและต้องเปลี่ยนถ่ายทุกวัน
     
การให้แร่ธาตุอาหารเสริม
เนื่อง จากม้าเป็นสัตว์ที่ใช้พลังงานสูง ร่างกายมีการเคลื่อนไหวตลอดเวลา ดังนั้นนอกจากอาหารหลักที่ได้รับในแต่ละวันแล้ว ม้ายังต้องการแร่ธาตุอาหารมาบำรุงร่างกายตลอดเวลาอย่างต่อเนื่องด้วย และหาก เป็นม้าที่ใช้งานหนักเสียเหงื่อเยอะ จำเป็นต้องชดเชยแร่ธาตุให้ครบถ้วน สำหรับกรณีนี้เราจึงต้องจัดอาหารเสริมไว้ให้ม้าได้เลียกินตลอดเวลา และที่ฟาร์มได้ใช้แร่ธาตุอาหารคลุกเคล้ากับเกลือวางใว้ให้ม้าตลอดเวลา และจากการสังเกตพบว่าม้าจะมีการขยายกล้ามเนื้ออย่างรวดเร็วเมื่อเริ่มให้ อาหารเสริมไปแล้วประมาณ 1-2 เดือน
 
เมื่อ ก่อนตอนเริ่มเลี้ยงม้าแรกๆ ไทยโพนี่ยังคงยืนยันการเลี้ยงม้าแบบพอเพียง กล่าวคือให้เฉพาะหญ้าและอาหารเสริมเป็นครั้งคราว แต่เมื่อลองไปได้สักพักก็พบว่าอาการเสริมสำหรับม้าก็เปรียบดั่งวิตามินและ เกลือแร่สำหรับคน ในระยะแรกเคยผสมดินโป่งเลียนแบบธรรมชาติให้เขาเลีย ซึ่งได้ผลดีในระดับหนึ่ง ไทยโพนี่จึงเลิกผสมดินโป่ง หันมาใช้เกลือคลุกซีรีเนียมแทน และใส่รางไว้ให้เลียยามต้องการตลอดเวลา
การให้แร่ธาตุเสริมในม้า (ข้อมูลจาก Selenium - poison or miracles: By Robin Marshall : www.horsetalk.co.nz)
เป็นที่ถกเถียงกันในวงการคนเลี้ยงม้ามานานแล้วว่า ซีรีเนียม หรือแร่ธาตุเสริมสำหรับม้านั้นจำเป็นหรือไม่ อย่างไร 
ขอตอบก่อนเลยว่า เอกสารฉบับนี้ยืนยันการเดินทางสายกลางไว้ครับ นั่นคือ น้อยเกินไปก็ไม่ดี และมากไปก็มีโทษ
เมื่อ แรกเริ่มเลี้ยงม้านั้น ไทยโพนี่ไม่เคยให้ความสำคัญกับแร่ธาตุหรืออาหารเสริมใดๆ สำหรับม้าเลย เพราะเกรงว่าจะเป็นการสิ้นเปลืองสำหรับคนเลี้ยงม้าระดับรากหญ้า และโดยที่ การเลี้ยงม้านั้นก็ถือว่าเป็นภาระหนักพอสมควรอยู่แล้ว หากไปเพิ่มภาระราย จ่ายก็จะทำให้เกษตรกรเกิดความเบื่อหน่ายและเลิกเลี้ยงในที่สุด ก็จะทำให้ ปริมาณผู้เลี้ยงและปริมาณม้าลดจำนวนลง จนในที่สุดก้ไม่เกิดกิจกรรมใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับม้าขึ้น 
ภาย หลังจากไทยโพี่มีประสบการณ์การเลี้ยงม้าและเพาะพันธุ์ม้ามากขึ้น เราจึงพบว่า อาหารเสริมสำหรับม้านั้นจำเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะซีรีเนียม   เพราะจะทำให้ม้ามีรูปร่างสมบูรณ์ และแข็งแรงมากกว่าตอนที่ไม่ได้ให้แร่ธาตุเสริม    ดังนั้นวันนี้จะขอกล่าวถึงซีรีเนียมโดยเฉพาะ
ธาตุ ซีรีเนียม (Selenium , Se) นั้นเรารับรู้กันมานานว่ามีความสำคัญทางโภชนาการตั้งแต่ปี 1957   แต่ได้เริ่มบันทึกบันทึกผลของมันโดย มาร์โค โปโล   ใน ค.ศ. 1817 ว่าเป็นสารที่มีอยู่ในพืชบางชนิด ที่หากม้ากินเข้าไป (ในจำนวนมากเกินไป) ก็จะทำให้กีบแตก หรือสึกกร่อนง่าย    และเจ้าสารชนิดนี้พบในพืชที่ขึ้นทางตอนเหนือของอเมริกากลาง ประมาณแถวๆ มลรัฐควีนส์แลนด์ 
นัก วิทยาศาสตร์ได้ค้นพบว่า เจ้าพืชที่ชื่อ แอสตรากาลัส เรสเมส (Astragalus racemes) เป็นพืชที่สะสมซีรีเนียมได้มากถึง 14990 ส่วน ใน 1000 ส่วน หรือพูดง่ายๆ มันมีสะสมสารซีรีเนียมว่ามีมากจนล้นตัวมันนั่นเอง
ในนิวซีแลนด์พบว่า สัตว์ที่กินสารเหล่านี้มากจนเกินขนาดมักจะตาย เพราะยังไม่มียาแก้ 
การ ขาดสารซีรีเนียมนั้น มักพบว่า สัตว์จะเกิดอาการ กล้ามเนื้อลีบ หรือเป็นโรคกล้ามเนื้อลีบ   ท่าเดินหรือการเดินจะไม่เรียบหรือกระโดกกระเดก   (Stiff Gaits)   และปัญหาอื่นๆตามมาเยอะแยะ   เช่น กินเท่าไรก็ไม่อ้วน สำหรับม้าจะสังเกตง่ายๆว่า กระดูกสะโพกและซีโครงจะโปนออกมา (อันนี้ไทยโพนี่ว่าเองจากประสบการณ์)
มี ผู้รู้ที่ไม่ประสงค์ออกนามอ้างว่า การใช้ซีริเนียมนั้นเป็นเรื่องของปัจเจกทีเดียวเชียว กล่าวคือเป็นเรื่องของฟาร์มใครฟาร์มมัน   เพราะว่าขึ้นกับว่าปริมาณซีริเนียมในดินหรือแหล่งที่ตั้งของฟาร์มนั้นมีซิ รีเนียมอยู่มากน้อยแค่ไหน เพียงไร  
การให้ซีรีเนียมเสริมอาจทำได้โดยการฉีดร่วมกับการให้วิตามิน บี 12   แต่ต้องอยู่ภายใต้การกำกับดูแลอย่างใกล้ชิดของสัตวแพทย์
สำหรับ ม้านั้น มีข้อถกเถียงกันมานานเรื่องซีรีเนียม หากเป็นม้าแข่งได้รับอาหารม้าแข่งตามปกติ ก็ไม่ต้องเสริม เพราะในอาหารม้าแข่งจะมีซีรีเนียมผสมอยู่แล้ว แต่หากเป็นม้าทั่วไป ที่ปล่อยเล็มหญ้าก็ควรเสริมแร่ธาตุดังกล่าวบ้าง 
แต่ สุดท้ายโรบินสรุปว่า สำหรับม้าควรให้ประมาณ   0.1 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม (ม้าหนัก 300-500 กก. ก็ควรใช้ประมาณ 30-50 มิลลิกรัม หรือประมาณ ครึ่งช้อน - 1 ช้อนชา ต่อวัน เน้นว่า ต่อวันนะครับ ไม่ใช่ต่อมื้อ )
ของ ไทยโพนี่เวลาใช้ก็จะผสมเกลือประมาณ เกลือ 1 กก. ต่อซีรีเนียม 3 ช้อนโต๊ะ (สำหรับม้า 10 กว่าตัว) คลุกคล้าใส่ภาชนะไว้ข้างรางอาหารหรือวางไว้ในที่ที่ม้าทุกตัว สามารถมาเลียกินได้ตลอดเวลา     สักอาทิตย์หรือสองอาทิตย์ให้ครั้งก็เพียงพอ
 
การถ่ายพยาธิ
วิธีการดังนี้ครับ
1. หาซื้อยาถ่ายพยาธิตามร้านสัตวแพทย์หรือร้านอาหารสัตว์ทั่วไป ยี่ห้อตามที่สัตวแพทย์แนะนำ ส่วนใหญ่เป็นยาน้ำ
2. ขอเข็มฉีดยา พร้อมหลอดดูด (ไซริงขนาดไม่น้อยกว่า 20 ซีซี) เขามาด้วย
3. แวะซื้อน้ำหวานเฮลบลูบอยมาสัก 1 ขวดที่ร้านขายของทั่วไป
4. เปิดฝาขวดยา ติดเข็มเข้าที่หลอดไซริง เจาะฉึกเข้าไปที่ฝา จุ่มเข็มให้ลึกเพื่อดูดตัวยา หากให้ดีควรเอียงขวดสักหน่อยพองาม ดูดยาเข้าหลอดหากเป็นม้าใหญ่ก็ซัก 10 ซีซี (ม้าหนัก300 กก.) และลดหลั่นกันไปตามลำดับ แต่ม้าเล็กยังไงก็ไม่ควรจะน้อยกว่า 5 ซีซี
5. ดึงไซริงออก ชักเข็มออกจากหลอดไซริงที่มียาอยู่ บอกคนที่อยู่ใกล้ๆให้เทน้ำหวานใส่ถ้วยสักค่อนถ้วย นำหลอดยาจุ่มในน้ำหวานดึงตูดดูดน้ำหวานจนเต็มพิกัด เขย่ายาและน้ำหวานสักเล็กน้อยพอเข้ากัน
6. เรียงม้าเข้ามาตามเบอร์ หากไม่มีขลุมจงจับใส่ให้เรียบร้อย จับม้าเงยหน้าอ้าปาก เอาหลอดยาแตะปากให้รู้ว่าหวาน พอม้าอ้าปากจึงกดเข็มส่งให้ยาพุ่งเข้าให้ถึงลำคอ ดันปากล่างม้าไว้จนกลืนเกลี้ยงเกลา
7. อีก 3-4 เดือน จึงมาทำพิธีตั้งแต่ 1-6 ใหม่