วันอังคารที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

โรคม้า ๑. การแพ้ยาถ่ายพยาธิ การ ถ่ายพยาธิเป็นสิ่งสำคัญในการเลี้ยงดูม้า ฟีโนไธอาซีน ( Phenothiazine) เป็นยาถ่ายพยาธิที่นิยมใช้กันมาก เพราะสามารถทำลายพยาธิตัวกลมได้เกือบทุกชนิด แต่ในขณะเดียวกันยาถ่ายพยาธิชนิดนี้สามารถทำให้ม้าป่วยเพราะพิษยาได้ด้วย อาการที่พบ เช่น อาการโลหิตจางเรื้อรัง ม้าท้องอาจแท้งลูกและเกิดอาการแพ้แสงสว่าง การรักษาอาจทำได้โดยหยุดใช้ยาชนิดนี้ ในกรณีที่เป็นพิษรุนแรง อาจจำเป็นต้องมีการให้เลือด ๒. พยาธิม้า พยาธิม้ามีมากมายหลายชนิด ที่สำคัญๆมี ๔ ชนิด ด้วยกัน ได้แก่ ๒.๑ พยาธิดูดเลือด ( Strongylus spp.) ตัวแก่ของพยาธิชนิดนี้ อาศัยอยู่ในลำไส้ใหญ่ของม้า ดุดเลือดม้ากินเป็นอาหาร ตัวอ่อนของพยาธิอาจชอนไชเข้าไปในกระแสโลหิต ซึ่งอาจทำให้เกิดการอุดตันของเส้นเลือดทำให้ม้าตายได้ ๒.๒ พยาธิเข็มหมุด ( Oxyuris equi) ตัวแก่ของพยธิชนิดนี้ อาศัยอยู่ในลำไส้ใหญ่ของม้าแล้วจะติดออกมากับอุจจาระ และจะวางไข่ไว้บริเวณใต้หางม้า ทำให้เกิดการระคายเคืองและม้าจะเอาหางไปถูกับผนังคอก ทำให้ขนหลุดจนกลายเป็นขี้กลาก ๒.๓ พยาธิตัวกลม (Round worm, Parascaris equorum) ตัวแก่อาศัยอยู่ในลำไส้ของม้าและคอยแย่งกินอาหารที่ย่อยแล้ว ทำให้ม้าเกิดโรคขาดอาหาร ตัวอ่อนของพยาธิอาจชอนไชเข้าไปในเส้นเลือดเข้าสู่ตับ หัวใจ ปอด ซึ่งอาจทำให้ม้าถึงแก่ความตายได้ ๒.๔ พยาธิบอท( Bot Grubs, Gastrophilus spp.) ตัวแก่ของบอทเป็นแมลงคล้ายๆแมลงดูดเลือด และจะวางไข่บนตัวม้า บริเวณขา หน้าอก สวาบ ไข่ของพยาธิบอทที่ม้ากินเข้าไป จะเจริญตัวเป็นหนอน (margot) ไปฝังตัวอยู่ที่ผนังกระเพาะทำให้เกิดแผลหรือก้อนเนื้องอกในกระเพาะทำให้มี อาการเสียด การป้องกันรักษา ทำได้โดยการทำลายวงจรของ พยาธิแต่ละชนิด และจะต้องให้ม้ากินยาถ่ายพยาธิเป้นประจำทุกๆ ๖ – ๘ สัปดาห์ ยาถ่ายพยาธิที่นิยมใช้กันมาก ได้แก่ • ออกซิเบนดาโซล (Oxibendazole) • ไอเวอร์แมกติน (Ivermectin) ๓. โรคติดต่อร้ายแรงในม้า ๓.๑ โรคแอนแทรกซ์ (Anthrax) เป็นโรคร้ายแรง และอาจทำให้สัตว์ถึงตายได้ สาเหตุเกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่เรียกว่า บาซิลลัส แอนทาซีส (Bacillus anthracis) สัตว์ที่ป่วย จะมีอาการเสียดอย่างแรง มีอาการไข้สูง ตัวสั่น เบื่ออาหาร หงอย ซึม กล้ามเนื้อขาไม่มีกำลัง อุจจาระมีเลือดปน ท้องและคอจะบวมร้อน การควบคุมโรค ทำได้โดยการทำลายสัตว์ที่ป่วย ฉีดวัคซีนป้องกันโรค และแยกสัตว์ที่ป่วยออกจากฝูง โดยราดด้วยโซดาไฟละลายน้ำ ๕ ต่อ ๑๐๐ ส่วน ๓.๒ โรคเซอร่า (Surra) สาเหตุเกิดจากเชื้อโปรโตซัว ชื่อว่า ทรีพพาโนโซมา อีแวนซี (Trypanosoma evansi) ซึ่งจะเข้าไปอาศัยอยู่ในไขสันหลัง ม้าม และในกระแสเลือด อาการที่ปรากฏหลังจากได้รับเชื้อแล้ว ๔ – ๑๓ วัน คือ เบื่ออาหาร ซึม ง่วง ไข้สูง อ่อนเพลีย หายใจถี่หรือหอบ เกิดจุดเลือดที่เปลือกตาชั้นในและเยื่อตา บวมบริเวณหนังอวัยวะสืบพันธุ์ ขาใต้คางและเนื้อท้อง สัตว์ที่ป่วยอาจจะตายในระยะเพียงไม่กี่วัน ๓.๓ โรคโลหิตจางในม้า (Equine Infectious Anemia : F.I.A) เป็นโรคติดต่อร้ายแรงในม้า เกิดจากเชื้อไวรัส ไทรเฟอร์ อีควินอรัม (Trifur equinorum) ทำให้ม้ามีอาการไข้ขึ้นลง ซึม อ่อนแอ บวมน้ำ น้ำหนักลด บางรายมีเลือดคลั่ง มีจุดเลือดตามเยื่อเมือกของตา พบโลหิตจางเป็นเวลานาน อาการขั้นสุดท้าย สัตว์จะแสดง อาการอ่อนเพลีย ทรงตัวไม่ไหว หายใจเร็ว เบื่ออาหาร ไข้สูง ท้องบวม และตายในที่สุด โรคนี้ยังไม่มียารักษา แต่อาจป้องกันได้ ด้วยการแยกสัตว์ป่วยให้พ้นพื้นที่ และฆ่าเชื้อโรคบริเวณที่สัตว์อาศัย ภาชนะหรือเครื่องขี่ของสัตว์ป่วยต้องได้รับการอบฆ่าเชื้อ จนมั่นใจแล้วจึงนำมาใช้ได้ ๓.๔ โรคบาดทะยัก (Tetanus) สาเหตุเกิดจากเชื้อ คลอสตริเดียม เททานิ (Clostridium tetani) ซึ่งอาศัยอยู่ในบริเวณผิวดิน ในอุจจาระ สัตว์ที่ป่วยจะมีอาการขากรรไกรแข็ง หรือขาหลังทำงานได้ไม่ปกติ อุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้น หายใจลำบาก กล้ามเนื้อกระตุก สัตว์ที่ป่วยจะไม่ชอบแสงสว่างและเสียง เพราะจะทำให้กล้ามเนื้อเป็นตะคริวแข็งมากขึ้น อาจล้มลงและถึงตายได้ในที่สุด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น